รายการบล็อกของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การทำเอฟเฟคง่ายๆสำหรับไตเติ้ลวิดิโอ

การทำเอฟเฟคง่ายๆสำหรับไตเติ้ลวิดิโอ


ลองใช้เทคนิคเหล่านี้สลับกันง่ายๆก็จะได้ไตเติ้ลที่เร้าใจ

การตัดต่อวิดีโอ แบบ Slow Motion แบ่งเฟรมด้วย final cut express

การตัดต่อวิดีโอ แบบ Slow Motion แบ่งเฟรมด้วย final cut express
โดย วิศณุ แก้วล้อมทรัยพ์ - นักศึกษาฝึกงาน

การ Crop ภาพและการแบ่งเฟรม - FinalCut Express v4

การ Crop ภาพและการแบ่งเฟรม - FinalCut Express v4

โดย วิศณุ แก้วล้อมทรัพย์ - นักศึกษาฝึกงาน

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Character in FCP - การใส่สัญลักษณ์ และ ภาษาต่างๆใน Final cut

การใส่สัญลักษณ์ และ ภาษาต่างๆใน Final cut



สามารถ ทำไตเติ้ลได้หลายภาษาและใส่ สัญลักษณ์ต่างๆ ใน การตัดต่อได้
ให้ Set up แบบอักษรขึ้นมาก่อน แต่ถ้ามีแล้วข้ามไปขั้นที่ 6

การ set up ถาดเครื่องมือให้เลือกแสดงที่ menu Bar
1.ที่เมนู Apple เลือก System Preferences




2. เลือก ICON International



3. เลือก character Palette และ ให้แสดงที่เมนูบาร์เลือก
show input menu in Menu Bar - ปิดหน้าต่าง เสร็จสิ้นการ Set Up



4. คลิ๊กที่ช่องเปลี่ยนตัวอักษร จะเห็นถาดเครื่องมือ - Show Character Palette


5. เปิดถาดเครื่องมืออกมาจะเห็น สัญลักษณ์พิเศษ และสามารถเปลี่ยนภาษาได้


การนำไปใช้กับโปรแกรมตัดต่อ
6.ที่ Final cut เลือก กล่อง Genarater - text



7. เปิด กล่องcharacter Palette


8. ช่องด้านบนเลือกภาษา ช่องด้านล่างลงมาเลือกชนิดสัญลักษณ์
และเลือก font


9. การใส่สัญลักษณ์ลงในกล่องข้อความ
คลิ๊ก ที่ แถบ Control - Sample Text
- 1. ให้เลือก สัญลักษณ์ที่จะใส่ แล้ว
- 2. กด Insert
- 3. สัญลักษณ์จะเข้าในใน กล่องข้อความทันที

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การทำสตอปแอคชั่นพร้อมไฟแฟลชถ่ายภาพ - FinalCut Express v4

การทำสตอปแอคชั่นพร้อมไฟแฟลชถ่ายภาพ - FinalCut Express v4

การเซ็ทเครื่องตัดต่อ - Set up FinalCut Express - basic

การเซ็ทเครื่องตัดต่อวิดีโอ - Set up FinalCut Express - Basic
By Spycute

การ set up ระบบตัดต่อ ใน Finalcut Express V.4

1.เชื่อมสาย เคเบิล ไฟไวน์ 4พิน จากกล้อง - อีกหนึ่งด้าน เป็น6 พิน เข้าช่องinput Mac



2.เปิดโปรแกรม FinalCut Express ขึ้นมา คลิ๊กที่ เมนู FinalCut Express
3.เลือก Easy set up


4.เลือกระบบ ทีวี เมืองไทย – DV- PAL - Rate 25.00 fps คลิ๊กset up


5. กำหนดที่เก็บไฟล์ต่างๆที่จะนำมาตัดต่อ
ที่เมนู FinalCut Expressเลือก System Setting


6. ที่ แถบScratch Disks ช่องแรก คลิ๊ก Set


7. เลือก new Folder



8. ตั้งชื่อตามต้องการ Create - choose

- งานทั้งหมดจะเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ที่เราสร้างขี้น ดูในช่องSET


9. ที่เมนู File สร้าง New project


10.ตั้งชื่อProject


11. save Project as เลือก ที่เก็บ ไว้ในโฟลเดอร์ที่เราสร้างขึ้นมา



จากนั้น เตรียมตัวcaptureภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ โดยเช็คสัญญาณ
ว่าเชื่อมต่อกับกล้องวีดีโอหรือยัง
12. เช็คสัญญาณภาพไปที่ เมนู view เลือก Apple Fire wire PAL 720x576

แล้วเลือกช่อง Refresh Video Devices สลับไปมาดู


13.เมื่อเชื่อมกันได้แล้วก็จะมีหน้าต่างCapture - จอบาร์สีขึ้นมา


14.ลองกด play ดู ม้วนเทปในกล้องก็จะเล่นภาพ ขึ้นจอ - ปุ่มทั้งหมดจะควบคุมกล้องได้

15. เมื่อต้องการนำภาพเข้าเครื่องคอมฯกด NOW
ไฟล์ที่เข้ามาจะไปอยู่ที่โฟลเดอร์ที่เราตั้งไว้ทันที

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การทำไตเติ้ลด้วย Title 3 D ใน Final Cut Express V.4

การทำไตเติ้ลด้วย Title 3 D ใน Final Cut Express V.4

วิธีทำ
1.บริเวณด้านล่างของช่องViewer ให้คลิ๊กที่กล่อง Generater
เลือก Boris เลือก Title 3 D



2.คลิ๊กที่แถบเมนู Control ในช่องViewer จะเห็นแถบTitle 3 D คลิ๊กที่แถบนั้นแล้วรอสักครู่ จะมีหน้าต่างว่างๆ ให้ พิมพ์ตัวหนังสือและกล่องเครื่องมือขึ้นมา


หน้าต่างของTilttle 3 D



3.พิมพ์ตัวหนังสือลงไปที่หน้าต่างนั้น แล้วป้ายเลือกอักษรชุดนั้นไว้



4.คลิิ๊กที่กล่องเครื่องมือ แถวที่ 3 เลือก Gradient – เลือกกล่องสี



จะเปลี่ยนหน้าต่างเป็นเครื่องมือเลือกสี แบบ ไล่เฉดสี


คลิ๊กตรงช่องcolor สีดำ เพื่อเปลี่ยนเป็นสีอื่นๆ ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง


เมื่อลากแถบสไลด์ด้านของวงกลมสีดำขึ้นไปจะแสดงสีทั้งหมดขึ้นมา


6.ปรับองศามุมการไล่เฉดสีภายในตัวหนังสีอ ตามต้องการ กดปุ่ม Apply เสร็จสิ้นการทำเฉดสีตังหนังสือ



7.กลับมาที่กล่องเครื่องมือเพื่อ ทำเงา เลือกช่องสุดท้าย ติ๊กเครื่องมือถูกที่ช่องแรก เลือก Solid Shadow


8.ปรับขนาดความหนาของเงา เลือกค่ากลางๆประมาณ 11



9.ปรับองศามุมของของเงาตามต้องการจะเห็นภาพของเงาขณะปรับ ปรับตรงวงกลมที่มีแกนหมุน
คลิ๊กปุ่ม Apply เสร็จสิ้นขั้นตอนการทำไตเติ้ล



10.ที่ช่องViewerคลิ๊กกลับมาที่แถบVideo จะเห็นภาพไตเติ้ลที่เราทำ
11.ที่ขอบของแถบVideo จะเห็นกล่องให้ เลือก Images


12.เอาเมาท์ จับตัวหนังสือไตเติ้ลลากออกมาวางไว้ที่ช่อง Browser คลิ๊กเปลี่ยนชื่อไฟล์ ว่า - tittle 1
13.ต่อไปนำภาพที่จะซ้อนลากมาวางไว้ที่ Time line ช่อง V1


14.ลากไตเติ้ลไปใส่ในช่องcanvas เลือกช่องสีม่วง Super impose ไตเติ้ลจะซ้อนลงไปบนภาพมีความยาวเท่ากัน ไตเติ้ลจะเข้าไปอยู่ในช่องV2 ทันที


15.ขั้นตอนต่อไปทำไตเติ้ลเคลื่อนไหว ดูที่ช่อง Canvas แถบด้านบนเลือก Image+Wireframe
จะเห็นเส้นรอบๆภาพขึ้นมาสามารถปรับขนาดได้ ปรับแล้วลากไปวางไว้ในจุดที่ต้องการให้ขึ้นไตเติ้ล


จับตรงจุดสี่เหลี่ยมขาวๆ ด้านใดก็ได้ ลากเปลี่ยนตำแหน่งได้ - ย่อขยายได้

16.เลือกดับเบิ้ลคลิ๊กที่ ไฟล์ ไตเติ้ล ในช่อง V2 จะเห็น ไตเติ้ลขึ้นในช่องViewer
ในช่อง มีตัวหนังสือ Thailand

17.ที่ช่อง viewer เลือกแถบ motion จะเห็นช่องปรับ Key Frame


18.ที่Time line ลาก เส้น play head ไปไว้จุดที่เราต้องการให้ ภาพสิ้นสุดการเคลื่อนไหว
จากนั้น
19. กดเพิ่ม key frame ในแถบ Motion - Scale - Rotation-Center อย่างละ 1 จุด เพื่อล๊อคการเคลื่อนไหวตามตำแหน่งสุดท้ายที่เราต้องการให้ไตเติ้ลวางแช่ไว้


20.ลากplay head กลับมาที่จุดเริ่มต้นเข้าไตเติ้ล กด เพิ่มจุดkey frameทั้งสามจุด เพื่อจะกำหนดเทคนิคการเคลื่อนเข้ามาในวางในจอ


21.ที่ช่องจอCanvas คลิ๊กกรอบสีเขียวแล้วลากขยายปรับตัวอักษรให้ใหญ่ล้นจอแล้วลากลงมาที่ขอบล่างของจอจะเห็นเส้นจุดเคลื่อนที่สีเขียวตามทางวิ่ง ถ้ามีแถบสีแดงขึ้นที่ช่องplay head ให้ กด Comand +R
เพื่อ Render ภาพ แถบสีแดงจะหายไป จึงจะกดเล่นภาพได้ (บางภาพไม่ต้องเรนเดอร์ก็ได้ ดูว่าแถบแดงหรือปล่าว)


แล้วลอง Play ดู - ไตเติ้ลจะขยายใหญ่แล้วเล็กลงและวิ่งไปวางตามจุดที่เรากำหนด
ดังวีดีโอที่โชว์อยู่ด้านบน